New-planet

นักดาราศาสตร์พบดาวเคราะห์ใหม่อาจมีสิ่งมีชีวิต

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์เรื่องราวอันน่าสนใจนี้ผ่านทาง Facebook ด้วยเนื้อหา ‘นักวิทยาศาสตร์พบดาวเคราะห์แก๊สนอกระบบสุริยะ ห่างจากโลก 30 ปีแสง’ เมื่อเจาะลึกเข้าไปถึงเรื่องรายละเอียด จึงพบเรื่องอันน่าตกใจว่าตามทฤษฎีกำเนิดดาวเคราะห์แล้ว ดาวเคราะห์ดวงนี้ไม่น่ามีอยู่จริง!

พบดาวเคราะห์ที่ ‘ไม่ควรมีอยู่’ เปลี่ยนมุมมองต่อวิทยาศาสตร์

สำหรับดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่พบในครั้งนี้ มีลักษณะเป็น ‘ดาวเคราะห์แก๊สขนาดใหญ่’ โดยมีมวลถึงครึ่งหนึ่งของดาวพฤหัสบดี เผยให้เห็นถึงเส้นทางที่โคจรรอบดาวแคระแดง ซึ่งมีมวลเพียง 1 ใน 10 เท่าของมวลดวงอาทิตย์เท่านั้นเองเมื่ออ้างอิงจากแบบจำลอง ในการก่อตัวของดาวเคราะห์ในปัจจุบันที่วิทยาศาสตร์ของโลกสามารถให้คำตอบได้ จากหลักทฤษฏีสะสมแกนกลาง ได้อธิบายว่าดาวเคราะห์แก๊สยักษ์อย่างดาวพฤหัสบดี มีการก่อร่างสร้างตัวซึ่งเริ่มจากสร้างแกนกลางจากธาตุหนัก หลังจากนั้นจึงค่อยๆดึงดูดพร้อมสะสมชั้นบรรยากาศจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับน้ำหนักของดาวฤกษ์แม่ และดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะแล้วกลับพบเรื่องอันน่าตกใจว่า ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงนี้มีน้ำหนักผิดปกติไป

New-planet-photo

การค้นพบครั้งสำคัญของโลก

ต้องขอบอกข้อมูลให้คุณผู้อ่านได้ทราบก่อนว่าดาวแคระแดง จัดเป็นดาวฤกษ์ที่สามารถพบได้บ่อยที่สุดในเอกภพ คิดเป็นร้อยละ 75 จากดาวฤกษ์ทั้งหมดในเอกภพ และตามปกติแล้วดาวแคระแดงจะต้องมีดาวเคราะห์ betflik baccarat วนอยู่รอบเพียงไม่กี่ดวงเท่านั้น เพราะเป็นดาวฤกษ์มวลน้อยอีกทั้งยังมีขนาดเล็ก จึงทำให้ไม่มีสสารมากพอ ในการจะก่อให้เกิดดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ ส่วนดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่รอบดาวแคระแดงนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมวลใกล้เคียงกับโลกมากจวบไปจนถึงมวลขนาดดาวเนปจูน หากแต่ก็ยังไม่เคยมีการค้นพบดาวเคราะห์ ที่มีมวลใกล้เคียงดาวพฤหัสบดีเช่นนี้มาก่อน

ปริศนายังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะนอกจากจะไม่เป็นไปตามทฤษฏีที่กล่าวถึงในข้างต้นแล้ว การมีอยู่ของ ‘ดาวเคราะห์แก๊สขนาดใหญ่’ ซึ่งมีชื่อว่า GJ 3512b ยังทำให้นักดาราศาสตร์ต้องนำทฤษฏีการกำเนิดดาวอีกหนึ่งทฤษฎีมาใช้ในการพิจารณา นั่นก็คือ ทฤษฏีการยุบตัวจากแรงโน้มถ่วง

ทฤษฏีการยุบตัวจากแรงโน้มถ่วง

สำหรับทฤษฏีการยุบตัวจากแรงโน้มถ่วงนี้ มีแนวคิดพื้นฐานที่น่าสนใจ ก็คือ เมื่อใดก็ตามที่ดาวฤกษ์เริ่มก่อตัว ก็จะถูกล้อมรอบไปด้วยฝุ่นและแก๊สขนาดใหญ่ และจากแรงโน้มถ่วงของฝุ่นและแก๊สที่มีจำนวนมหาศาลนี้ ส่งผลให้เกิดความเสถียรภายในดาวฤกษ์ หลังจากนั้นฝุ่นและแก๊สก็จะยุบตัวลง จนกระทั่งเกิดเป็นดาวเคราะห์แก๊สขนาดใหญ่ขึ้นมา โดยที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการก่อตัว 2 ขั้นตอนอย่างดาวเคราะห์แก๊สตามปกติทั่วไป

หากแต่ถึงกระนั้น การจำลองตามทฤษฏีการยุบตัวจากแรงโน้มถ่วง ก็ยังเป็นแนวคิดที่ยังไม่ได้รับการยอมรับ ในกรณีที่นำมาอ้างอิงกับการก่อตัวของดาวเคราะห์รอบดาวแคระแดง เพราะในปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่พบฝุ่นและแก๊สขนาดใหญ่ที่อยู่รอบดาวแคระแดงอายุน้อยมาก่อนเลย

โดย Hubert Klahr นักดาราศาสตร์ จากสถาบัน Max Planck for Astronomy กล่าวว่า ‘ ณ นี้ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ GJ 3512b มีความน่าสนใจและแตกต่างมาก เพราะจากการวิเคราะห์ในเบื้องต้นพบว่าเป็นไปได้มากว่า อาจก่อตัวจากความไม่เสถียรของฝุ่นและแก๊สที่อยู่รอบดาว จากจุดนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องมาจำลองการเกิดดาวเคราะห์ใหม่’

และจากการค้นพบครั้งนี้มีข้อดี คือ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ขวนขวายและตื่นรู้ในการที่จะหาคำตอบ ซึ่งจะยิ่งช่วยไขปริศนาเหล่านี้ให้กระจ่าง อีกทั้งยังทำให้เข้าใจได้อีกว่า โลกและระบบสุริยะของเราก่อกำเนิดได้อย่างไร