สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ประเทศไทย ชวนประชาชนผู้สนใจเตรียมชม 10 เรื่องทางดาราศาสตร์ อันน่าสนใจในปี พ.ศ. 2563 ครบทุกเหตุการณ์ที่เรียกได้ว่าเป็นการค้นพบสำคัญทางดาราศาสตร์ ชวนชมดวงดาวที่ส่องประกายในท้องฟ้ายามค่ำคืน
10 เรื่องดาราศาสตร์ น่าสนใจ
- ครบรอบ 50 ปี ยาน Apollo 11
ยานอวกาศชื่อดัง ซึ่งพามนุษย์ชาติเปลี่ยนผ่านไปสู่ช่วงเวลาสำคัญ เมื่อมนุษย์เหยียบลงบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรก เขาผู้นั้น คือ Neil Armstrong มนุษย์คนแรกที่ได้เดินบนดวงจันทร์ ซึ่งภารกิจนี้จัดเป็นภารกิจที่ทำให้เกิดความก้าวหน้า ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
- ครบรอบ 100 ปี สุริยุปราคาเต็มดวง
จากปรากฏการณ์ในครั้งนี้ช่วยพิสูจน์ทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ ทำให้มุมมองของมนุษย์อันมีต่อเอกภพเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล
วันที่ 29 พฤกษาคม พ.ศ. 2563
- เดินหน้าสร้าง ‘หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ’
ซึ่งเป็นหอดูดาวสำหรับประชาชนแห่งที่ 3 ของประเทศไทย มีจุดเด่นอยู่ที่การติดตั้ง ‘กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ’ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตร มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อยกระดับการพัฒนางานวิจัยให้ก้าวไกลในระดับนานาชาติ
- สร้าง ‘ดาวเทียมวิจัย’ ด้วยฝีมือชาวไทย
ด้วยการผสมผสานพลังหลักถึง 3 สถาบันด้วยกัน ได้แก่…
- สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
- สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
- สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
โดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้ดาราศาสตร์ นำมาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอวกาศและดาวเทียมของไทย
- เปิด ‘หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา’
ซึ่งเป็นหอดูดาวระดับภูมิภาคเพื่อประชาชนอย่างเต็มรูปแบบ แห่งที่ 3 ของประเทศไทย มีจุดมุ่งหมายในการสร้างวิชาการดาราศาสตร์ มอบทุนงานวิจัยสำหรับนักศึกษา รวมทั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ดาราศาสตร์ชองชาวมุสลิม
วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
- จันทรุปราคาบนฟ้าเมืองไทย
ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน ซึ่งมีความพิเศษ คือ สังเกตได้จากทุกภูมิภาคของประเทศไทย ตั้งแต่เวลา 01.44 – 06.00 น.
วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
- ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้และไกลโลกที่สุดในรอบปี!
ปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี หรือ Super Full Moon วันที่ 19 กุมภาพันธ์ และ ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี หรือ Micro Full Moon วันที่ 14 กันยายน จัดเป็นปรากฏการณ์ไม่ได้เห็นกับแบบง่ายๆ
- ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ใกล้โลก
ไม่ได้เจอแบบง่ายๆเช่นกัน จัดเป็นอีกปรากฏการณ์ที่สร้างความตื่นเต้นได้มาก โดยดาวพฤหัสบดีใกล้โลก วันที่ 10 มิถุนายน ส่วนดาวเสาร์ใกล้โลก วันที่ 9 กรกฎาคม สามารถรับชมได้อย่างยาวนานตลอดคืนตั้งแต่ที่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าจวบไปจนถึงรุ่งเช้า
- ฝนดาวตกมีตลอดทั้งปี
หากแต่กลุ่มที่แนะนำว่าน่าจับตามองมากที่สุด คือ ฝนดาวตก Quadrantids วันที่ 3-4 มกราคม เฉลี่ย 120 ดวง/ชั่วโมง ฝนดาวตก Eta Aquariids วันที่ 6-7 พฤษภาคม เฉลี่ย 50 ดวง/ชั่วโมง และ ฝนดาวตก Delta Aquariids วันที่ 30-31 กรกฎาคม เฉลี่ย 25 ดวง/ชั่วโมง
- ดาวเสาร์เคียงดาวพฤหัสบดี
โดยดาวทั้ง 2 ดวงนี้เริ่มขยับเข้าใกล้กันมาตั้งแต่ ช่วงปลายปี พ.ศ. 2561 และเข้าใกล้กันมากที่สุด ห่างกันเพียง 0.1 องศาเท่านั้น เมื่อมองด้วยตาเปล่าจะเห็นเป็นเสมือนดาวดวงเดียวกัน เป็นปรากฏการณ์อันหาชมได้อยย่างยากยิ่ง เพราะเป็นการเข้าใกล้กันมากที่สุดในรอบ 397 ปี
วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ประเทศไทย ในปัจจุบันนี้เป็นประเทศที่ไม่ค่อยมีความโดดเด่นทางด้านดาราศาสตร์เท่าไหร่ เพราะฉะนั้นเพื่อยกระดับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ทางดาราศาสตร์ จึงจำเป็นจะต้องกระตุ้นกิจกรรมเหล่าให้เกิดความน่าสนใจ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และสร้างความใฝ่รู้ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างคนเก่งในด้านอื่นๆหลากหลายวิชานอกเหนือจากวิชาในปัจจุบัน มาช่วยขับเคลื่อนประเทศชาติต่อไปในอนาคต